Tuesday, March 5, 2019

อนุทินที่ 3


     แบบฝึกหัดทบทวน


1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ คณะราษฎร์เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก มีเหตุผลคือ “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้วมีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชารัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475,36)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
      หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
      มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
      หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
      มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
      หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
      มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
       มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนได้เองภายในของเขตที่กฎหมายบัญญัติ
      มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การทางศึกษาอบรมตามสมควร
      มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
      (ราชกิจจานุเบกษา,2492,25-27

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีประเด็นที่เหมือนกันมาก แต่ก็ยังมีประเด็นที่มีความแตกต่างออกไป ดังเช่นพุทธศักราช 2511 โดยส่วนใหญ่แล้วรัฐจะเป็นผู้จัดระบบการศึกษาอบรม ส่งเสริมและบำรุงการศึกษา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รวมไปถึงการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะจัดให้ไม่เก็บค่าเล่าเรียน สำหรับพุทธศักราช 2517 จะมีท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยว กล่าวคือ รัฐจะเป็นผู้จัดระบบการศึกษาอบรม ส่งเสริมและบำรุงการศึกษา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจกรรมภายในของเขตที่กฎหมายบัญญัติ สถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น ให้ความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ รวมไปถึงการไม่เก็บค่าเล่าเรียน ช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนต่าง ๆ  และพุทธศักราช 2521 สิ่งที่แตกต่างจากพุทธศักราชอื่นคือ รัฐสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม เพียงแค่หมวดเดียว สำหรับประเด็นที่ 2 พุทธศักราช 2492-2517 มีการกล่าวถึงประเด็นการศึกษาหลายประเด็น คือ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 จะเกี่ยวข้องกับรัฐส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม รวมไปถึงให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ นอกจากนี้รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนาความเสมอภาคของทั้งชายและหญิง และส่งเสริมประชาชนให้เข้าใจและเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำหรับประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 จะเกี่ยวข้องกับบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษา การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัย รวมไปถึงมีสิทธิเสมอภาคในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 

 6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ไม่แก่งแย่งชนชั้น ไม่มีประชาชนคนใดที่ไม่ได้รับการศึกษา ไม่เว้นแม้แต่คนพิการ ทุพพลภาพหรือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับทุนต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความสามารถเท่าเทียม และสามารถพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าได้

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่บัญญัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ หากไม่มีการบัญญัติประชาชนจะได้รับการศึกษาอย่างไม่ทั่วถึง และไม่เท่าเทียม ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการถูกปรับจากการไม่เรียนตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือแบ่งความเท่าเทียม แบ่งชนชั้น เป็นต้น

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517 และ 2550 การเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นถือเป็นการกระจาอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความคิดเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ การที่รัฐคุ้มครองพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความคิดเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส เพราะ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของทุกคนในสังคม ไม่ให้เกิดการแบ่งแยก แบ่งชนชั้น ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการรักความเป็นไทย รักระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมไปถึงมีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จะได้รับความเสมอภาคกัน นอกจากนี้จะได้รับการศึกษาทั่วกันทุกคน รวมไปถึงผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ก็ยังได้รับทุนต่าง ๆ ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีความรู้และสามารถนำไปประกอบอาชีพและมีรายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดเจริญก้าวหน้า

Monday, February 25, 2019

อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัด


คำสั่ง : จงตอบคำถามต่อไปนี้ 


1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีแล้วจะเป็นอย่างไร 
ตอบ มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวได้ตามลำพัง ดังนั้นจึงต้องพึ่งพามนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วอาจเกิดการทะเลาะ การทำร้ายร่างกาย เนื่องจากไม่พอใจ แก่งแย่ง และอาจทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ จึงทำให้มีการออกกฎเกณฑ์ หรือ กฎหมายขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ หากไม่มีกฎหมายแล้วละก็ มนุษย์ก็จะเกิดการทะเลาะ การทำร้ายร่างการ เกิดความไม่ระเบียบ และไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้

2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมไทยในปัจจุบันนั้นจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เนื่องจากจะไม่มีแนวทางหรือข้อบังคับในการปฏิบัติตน ไม่มีความเสมอภาค ใครจะทำอะไร อย่างไรก็ได้ จะทะเลาะกับใครก็ได้ตนไม่ผิดใช้ตนตัดสิน จะไม่จ่ายภาษีก็ได้ หรือจะขโมยของใครก็ได้ ซึ่งจะสร้างความโกลาหลให้แก่บ้านเมือง ดังนั้นการมีกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ 

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้ 
ก. ความหมาย 
ตอบ กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบัญญัติอันมาจากรัฎฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศนั้นบัญญัติขึ้นมา เพื่อประกาศใช้บังคับให้พลเมืองของประเทศนั้นทุกคน ซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ ชั้น วรรณะ สัญชาติปฏิบัติตามจนกว่ากฎหมายเหล่านั้นจะถูกประกาศยกเลิก และหากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ

ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ องค์ประกอบของกฎหมายประกอบด้วย ประการ คือ

          1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้

          2. มีลักษณะเป็นข้อบังคับ ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์

          3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้

          4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจจะถูกลงโทษในทางอาญา เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หรือลงโทษในทางเพ่ง เช่น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
 ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ ที่มาของกฎหมายมี 5 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย
ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
 
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ 
 ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ 1.กฎหมายมหาชน (Public Law)
2. กฎหมายเอกชน (Private Law)

3. กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)

4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน 

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย

ตอบ ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายเนื่องจากเพื่อการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รวมไปถึงการระงับการทะเลาะกันของคนในสังคม

 

5. สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ
ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย

สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา
ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ 

 

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความหมายแตกต่างกัน คือ สภาพบังคับกฎหมายแพ่ง หมายถึง หน้าที่และความรับผิดในการชำระหนี้ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ส่วนสภาพบังคับกฎหมายอาญา หมายถึง โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษมีอยู่ 5สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน 

 

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ระบบกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะ ถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ 

2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) พัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีต ประเพณี และคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด  

 8. ประเภทของกฎหมายมีกี่ประเภทและหลักการอะไรบ้าง  แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างจงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย

ตอบ  กฎหมายมี 2 ประเภท ได้แก่

ก. กฎหมายภายใน

1.กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยย ดึงเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบญัญญัติกฎหมาย

1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัตัิโดยผ่าน
กระบวนการนิติบัญญัติ 

2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง


2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรค
แรกบัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน 


2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับในลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝาฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญตัิไว้

 3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลักกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ซ่ึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคัลที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดการกระทำผิด

3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น
ประมวลกฎหมายวธิีพิจารณาความอาญา ซ่ึงในประมวลกฎหมายนี้กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญาการร้องทุกข์การกล่าวโทษวา่ มีการกระทำผิดอาญา
เกิดขึ้นการสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาลการพิจารณาคดีและการพิจารณา
คดีในศาล


4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กา หนดความสัมพนัธ์ระหว่างรัฐกบั ประชาชน รัฐ
เป็นผมู้ีอา นาจบงัคบั ให้ประชาชนปฏิบตัิตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็น
เครื่องมือในการควบคุมสังคม


4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน

ข. กฎหมายภายนอก

1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ
ซ่ึงมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2)
ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มี
อธิปไตย

2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลในรัฐต่างรัฐ

3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง
ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหน่ึงมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำ
ผิดนอกประเทศนั้นได้ 
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจ
กล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน โดยสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้


1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ


2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยเห็นชอบจากรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย


3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อตราแล้วขึ้นนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) หากอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเหมือนพระราชบัญญัติ


4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ มีลักษณะคล้ายกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน


5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ประกาศพระบรมราชโองการ มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และขัดกับกฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าไม่ได้


6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก โดยออกตามกฎหมายแม่บท มีความสำคัญรองลงมาจากพระราชกฤษฎีกา 

7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น เพื่อจัดเรียงสังคมดูแลทุกข์สุขประชาชน

8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล โดยมีการแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นกฎหมายที่มีลำดับต่ำที่สุดออกตาม
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะ
ปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบลเพื่อใชใ้นการบริหารงานราชการในท้องถิ่นที่ของ
ตำบลนั้น 
10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555  มีเหตุการณ์การชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า  จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศ เป็นพื้นที่ที่ห้ามชุมชนและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมกันอย่างสงบสุขและลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน    ในฐานะที่ท่านเรียนวิชานี้  ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำถูกหรือผิด
ตอบ  จากเหตุการณ์ข้างตน แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลได้กระทำลงไปนั้นคือสิ่งที่ผิด เนื่องจากรัฐบาลสามารถคอยดูการชุมนุมอย่างห่าง ๆ และมีการควบคุม ดูแล ซึ่งนั้นจะดีกว่าการห้าม ขัดขวาง และทำร้ายร่างกายประชาชน ซึ่งทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บ และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาลได้ 
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย 
ตอบ กฎหมายการศึกษา หมายถึง บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้  
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ  หากดิฉันไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา เมื่อดิฉันไปประกอบอาชีพครูดิฉันก็จะมีปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติตน เนื่องจากดิฉันไม่รู้กฎและข้อบังคับต่าง ๆ ที่ควรและพึงกระทำ รวมไปถึงในเรื่องของการสอน ควรสอนไปในทางไหน อย่างไรทำอย่างไร ที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่ดี เป็นคนที่เก่ง ต่อมาในเรื่องการปฏิบัติตนต่อนักเรียน ควรทำตนอย่างไร ตีเด็กได้หรือไม่ หรือลงโทษเด็กได้แค่ไหน ซึ่งกฎหมายการศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เราควรจะรู้และศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด

อนุทินที่ 3

     แบบฝึกหัดทบทวน 1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่...